ทำไมต้องใส่ใจผู้สูงอายุเป็นพิเศษ?
4 สาเหตุที่ทำให้เราต้องดูแลผู้สูงอายุเป็นพิเศษในช่วงโควิดระบาด
ติดได้
โดยผิวเผินเราอาจจะคิดว่าผู้สูงอายุไม่ค่อยออกจากบ้าน ไม่น่าติดง่าย แต่จริงๆแล้วโรคโควิด 19 คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ดังนั้นช่วงที่โรคระบาดมากๆ มีโอกาสสูงที่คนรอบตัวจะนำโรคมาสู่ผู้สูงอายุหากไม่ระวังเปราะบาง
สภาพร่างกายของผู้สูงอายุไม่แข็งแรงเหมือนคนหนุ่มสาว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย และภูมิคุ้มกันที่ลดลง และอาจจะมีโรคประจำตัวเรื้อรังเป็นทุน ทำให้ผู้สูงอายุต่อสู้กับโรคโควิดได้ไม่เก่งนัก มีโอกาสอาการหนักหรือเสียชีวิตจากโรคสูงภาวะพึ่งพิง
ผู้สูงอายุหลายคน มีภาวะพึ่งพิง การที่มีโควิดระบาด ทำให้ต้องวางแผนการจัดการดูแลกันในครอบครัวกันใหม่ หากวางแผนการดูแลไม่ดีผลเสียอาจจะไม่ได้เพียงเกิดจากการติดเชื้อโควิดอย่างเดียว แต่เป็นเหตุไม่คาดฝันที่เกิดจากการดูแลที่เปลี่ยนแปลง เช่น การหกล้มผลกระทบยืนยาว
ผู้สูงอายุมีพลังงานสะสมน้อย ฟื้นตัวจากโรคร้ายได้ลำบาก ทั้งผู้สูงอายุและครอบครัวจะต้องเผชิญกับผลกระทบที่หนักหน่วงหากมีการระบาดของโรคเกิดขึ้นการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้สูงอายุ
การปฏิบัติตัวของญาติและคนรู้จัก
- ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อเช่น เช่นผู้ไปสัมผัสผู้ป่วย หรือไปพื้นที่เสี่ยง ไม่ให้เจอผู้สูงอายุโดยเด็ดขาด โดยให้ สังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน
- ลดการเยี่ยมของเด็ก เพราะเด็กจะไม่ค่อยรู้จักวิธีการป้องกันตัว
- งด/ลดการมาเยี่ยมจากคนนอกบ้านให้น้อยที่สุด โดยแนะน้าให้ใช้การเยี่ยมทางโทรศัพท์ หรือ สื่อสังคม ออนไลน์ต่างๆแทน
- ในขณะเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุ ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ลดการเข้าใกล้หรือสัมผัสกับผู้สูงอายุ ลงเหลือเท่าที่จำเป็นโดยรักษาระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร
- ห้ามไม่ให้ผู้ที่มีไข้ตัวร้อน หรือมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจล้าบากเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุโดยเด็ดขาด
การปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุ และผู้ดูแลหลัก
- พยายามให้มีผู้ดูแลหลักคนเดียว เป็นคนที่มีความจำเป็นต้องออกจากบ้านน้อยที่สุด
- หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับเด็ก
- หลีกเลี่ยงการออกจากบ้านให้มากที่สุด หากมีความจำเป็นจริงๆ เลือกเวลาที่ไม่แออัด และใส่หน้ากากอนามัยตลอด รวมทั้งล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอลบ่อยๆ และอาบน้ำสระผมทุกครั้งหลังออกจากบ้าน
- หากมีนัดพบแพทย์ พิจารณาความจำเป็น หากอาการคงที่ ควรจะเลื่อนนัดไปก่อน โดยอาจให้ส่งยามาที่บ้าน
- ล้างมือฟอกสบู่ ด้วยวิธี 7 ขั้นตอน อย่างต่ำ 20 วินาที ทุกครั้งก่อนทำอาหาร ทานข้าว ไอจาม และหลังเข้าห้องน้ำ
- หลีกเลี่ยงการกินข้าวร่วมกัน หรืออย่างน้อยแยกสำรับกิน
- แยกห้องนอนกับคนอื่นถ้าเป็นไปได้ และควรมีอากาศถ่ายเท
สังเกตอาการผู้สูงอายุติดโควิด
การดูแลผู้สูงอายุ
ในช่วงกักตัวอยู่บ้าน เรามีวีธีดูแลผู้สูงอายุที่จะช่วยชะลอความถดถอยของร่างกาย สมอง และจิตใจ ตามหลัก 5 อ. ดังนี้
ทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เน้นเป็นอาหารปรุงสุกที่ไม่เค็มหรือหวานเกินไป
นอกจากนี้ต้องไปลืมรักษาสุขภาพช่องปาก เพราะการออกไปทำฟันช่วงนี้จะเพิ่มความเสี่ยง เราแนะนำสูตร 2-2-2 คือ
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง
- แปรงครั้งละ 2 นาที
- ไม่ทานอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง
ทั้งนี้ อย่าลืมให้ผู้สูงอายุถอดฟันปลอมก่อนเข้านอน เพื่อลดแหล่งสะสมโรค
ชวนผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างง่าย เช่นแกว่งแขน เดินรอบบริเวณบ้าน โดยเน้นทำสม่ำเสมอให้ได้สัปดาห์ละ 5 วัน วันละประมาณ 30 นาที
- จำกัดการรับข่าวสาร ไม่เกินวันละ 2 ครั้ง เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุกังวลหรือเครียดกับข่าวร้าย โดยพูดคุยกับผู้สูงอายุบ่อยๆเพื่อให้ท่านได้เล่าความกังวลต่างๆ
- หากลูกหลานอยู่ไกลหรือไม่ได้พบหน้ากัน ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่นการ VDO call กันเพื่อให้ไม่เหงา
- คนที่อยู่ในบ้านด้วยกัน ควรสังเกตว่าท่านชอบทำกิจกรรมอะไร ชวนทำกิจกรรมที่ท่านจะทำแล้วรู้สึกถนัดและภูมิใจ เช่นวาดรูป อ่านหนังสือ เล่นดนตรี อาจจะเอาใจท่านด้วยการบีบนวดคลายกล้ามเนื้อ หรือทำอาหารที่ชอบทานเป็นครั้งคราว
- พยายามหลีกเลี่ยงสุราหรือยาเสพติด
ควรให้ผู้สูงอายุได้พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ได้การนอนพักผ่อนที่ยาวนานถึง 7 - 9 ชั่วโมงต่อวัน ควรให้เข้านอนตั้งแต่ 3 ทุ่ม
หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ ไม่ควรให้ผู้สูงอายุออกจากบ้านในสถานการณ์โรคระบาด เพราะไม่รู้ว่าจะรับเชื้อมาจากที่ใด โดยญาติสนิทที่มีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน ควรรักษาระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าไปพูดคุยกับท่าน